บทที่ 5 - เรียนรู้การใช้กล้องถ่ายรูป และจัดการไฟล์ภาพ


คุณสมบัติของแอพ

ในบทนี้ จะสอนสร้างแอพที่สามารถถ่ายภาพได้ด้วยกล้องบนอุปกรณ์แอนดรอยด์ เมื่อผู้ใช้ถ่ายภาพแล้ว แอพก็จะแสดงภาพนั้น และยังมีปุ่มสำหรับเลือกภาพที่มีในเครื่องเพื่อนำมาแสดงผลด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีปุ่มสำหรับการมุมภาพทีละ 90 องศา

คอมโพเนนต์ที่กล่าวถึง

  • Camera เป็นคอมโพเนนต์สำหรับถ่ายภาพด้วยกล้องบนอุปกรณ์แอนดรอยด์
  • Image เป็นคอมโพเนนต์สำหรับแสดงภาพบนหน้าจอ
  • ImagePicker ใช้สำหรับเลือกภาพที่มีอยู่ในเครื่อง

บล็อกที่สำคัญ

สำหรับคอมโพเนนต์ Camera นั้น มีบล็อกสำคัญ คือ
  • TakePicture สำหรับสั่งให้กล้องเริ่มทำงาน
  • AfterPicture เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้กดปุ่มชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ ข้อมูล image ที่มากับอีเวนต์นี้ จะเก็บชื่อไฟล์ภาพถ่าย และตำแหน่งที่เก็บไฟล์ภาพ
เมื่อได้ภาพถ่ายมาแล้ว ก็จะนำภาพนั้นมาแสดงด้วยคอมโพเนนต์ Image พร้อมกับแสดงชื่อไฟล์ภาพและตำแหน่งที่เก็บไฟล์ภาพด้วยคอมโพเนนต์ Label
  • set Picture สำหรับกำหนดภาพที่จะแสดงบนคอมโพเนนต์ Image
  • set Text สำหรับกำหนดข้อความที่จะแสดงบนคอมโพเนนต์ Label
นอกจากนี้ ยังสอนใช้คอมโพเนนต์ ImagePicker สำหรับให้ผู้ใช้เลือกภาพที่มีอยู่ในอุปกรณ์แอนดรอยด์ขึ้นมาแสดงบนคอมโพเนนต์ Image ซึ่งมีบล็อกสำคัญ คือ
  • Selection เป็นบล็อกที่เก็บชื่อภาพที่ผู้ใช้เลือกด้วยคอมโพเนนต์ ImagePicker
  • AfterPicking เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้เลือกภาพด้วยคอมโพเนนต์ ImagePicker

ความรู้อื่นๆ

  • การหมุนภาพด้วยการเปลี่ยนค่ามุมใน property ชื่อ Rotation Angle ของคอมโพเนนต์ Image ซึ่งเทคนิคนี้ มีการใช้บล็อก if then else เพื่อให้ตรวจสอบค่ามุมในการหมุนภาพไม่ให้เกิน 360 องศา
  • การกำหนดสีแบ็กกราวด์ของแอพด้วยบล็อก set BackgroundColor และบล็อก make color โดยนำไปใส่ในอีเวนต์ บล็อก Screen Initialize ซึ่งเป็นอีเวนต์แรกที่เกิดขึ้นเมื่อแอพเริ่มทำงาน
  • ความรู้เกี่ยวกับชื่อไฟล์ และตำแหน่งที่เก็บไฟล์ภาพถ่าย (และไฟล์ภาพที่เลือกด้วยคอมโพเนนต์ ImagPicker) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ หากคุณต้องนำภาพไปแชร์ด้วย

Comments

Popular posts from this blog

บทที่ 4 - เรียนรู้เกี่ยวกับ User Interface

บทที่ 17 – สร้างแอพ Pomodoro

บทที่ 13 – รู้จักกับ Orientation sensor