บทที่ 23 – สร้างแอพติดตามรถประจำทาง

VDO นี้ไม่อัพเดตแล้ว กรุณาอ่านจาก eBook

คุณสมบัติของแอพ

ในบทนี้ สอนสร้างแอพติดตามตำแหน่งของรถประจำทาง ว่าขณะนี้อยู่ที่ไหน ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้คอมโพเนนต์ GoogleMap และ FirebaseDB

แอพชุดนี้ จะประกอบด้วยแอพ 2 ฝั่ง คือ
ฝั่งของคนขับรถประจำทาง จะใช้ชื่อแอพ BusDriver คนขับรถประจำทาง จะใช้แอพนี้ ขณะขับรถ และเปิด GPS ด้วย หน้าที่ของแอพนี้ ก็คือ อัพเดตพิกัดตำแหน่งปัจจุบันของรถประจำทาง ผ่านทาง FirebaseDB ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง

ทางฝั่งคนที่ยืนรอรถประจำทาง ก็จะใช้แอพอีกอันหนึ่ง ชื่อ WhereTheBus แอพนี้ ก็จะอาศัยข้อมูลพิกัดที่อัพเดตมาทาง FirebaseDB มาปักหมุดบนแผนที่ เพื่อแสดงตำแหน่งของรถประจำทางที่กำลังเคลื่อนที่ รวมทั้งแสดงตำแหน่งของตนเองบนแผนที่ เพื่อให้เห็นว่า รถประจำทางอยู่ห่างแค่ไหน

คอมโพเนนต์ที่กล่าวถึง

  • GoogleMap
  • FirebaseDB

Properties ที่สำคัญ

เนื่องจากแอพทั้ง 2 ฝั่ง คือ BusDriver และ WhereTheBus จะต้องส่งข้อมูลพิกัดตำแหน่งของรถประจำทางถึงกัน ดังนั้น properties สำคัญใน FirebaseDB ที่ต้องกำหนดให้เหมือนกัน ก็คือ
  • Firebase Token
  • Project Bucket
โดยการก็อปปี้ค่าทั้ง 2 จาก project หนึ่งมาใส่ในอีก project หนึ่ง

บล็อกที่สำคัญ

บล็อกส่วนใหญ่ของคอมโพเนนต์ GoogleMap และ FirebaseDB นั้น ได้อธิบายไปแล้วในบทที่ 22 และ 20 ตามลำดับ แต่มีอีกบล็อกหนึ่งที่ยังไม่ได้สอน คือ
  • Get Markers เป็นบล็อกที่จะให้ค่า makerid กลับมาในรูปของ list เราใช้บล็อกนี้ หลังจากที่เพิ่ม maker ด้วยบล็อก Add Markers From JSON แล้ว
ในบทนี้ มีการใช้ list มาช่วยในการทำงานของแอพ และมีการใช้บล็อกต่างๆ เกี่ยวกับ list หลายบล็อกด้วยกัน ซึ่งบางบล็อกได้อธิบายไปแล้วในบทที่ 18
  • create empty list
  • make a list ในบทนี้ ใช้เพื่อนำข้อมูลหลายๆ อย่างมารวมเป็น list เดียว เพื่อให้การส่งข้อมูลผ่าน FirebaseDB ง่ายขึ้น
  • select list item
  • index in list ใช้หาว่า ข้อมูลที่ระบุนั้น อยู่ในลำดับ หรือ index ใดใน list
  • remove list item ใช้ลบข้อมูลใน list ออก โดยระบุ index ของข้อมูลที่ต้องการลบ
  • add item to list ใช้เพิ่มข้อมูลใหม่ไปต่อท้าย list

ความรู้อื่นๆ

  • แนะนำคำสั่ง Collapse Block จากเมนูลัด (คลิ้กขวา) เพื่อยุบกลุ่มของบล็อกให้เล็กลง จะได้ไม่เกะกะ
  • เทคนิคการใช้ list เพื่อจัดการกับข้อมูล markerid ให้สัมพันธ์กับข้อมูลรถประจำทาง

Comments

Popular posts from this blog

บทที่ 4 - เรียนรู้เกี่ยวกับ User Interface

บทที่ 16 - สร้างแอพนับจำนวนก้าว (Pedometer)

บทที่ 3 - เริ่มใช้ App Inventor สร้างแอพแรก